Archive for November, 2012

PostHeaderIcon เป็นตะคริวบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไร

 
 

 


เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในนักกีฬาและบ่อยครั้งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งและขยับไม่ได้

     ตะคริวที่อาจเกิดแบ่งได้ 2 ชนิด
      1. แบบ tonic เป็นชนิดที่พบได้บ่อย กล้ามเนื้อจะมีการเกร็งอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
      2. แบบ clonic กล้ามเนื้อจะมีการหดตัวสลับกับการคลายตัวเป็นช่วงสั้น ๆ สลับกันไปอย่างรวดเร็ว

สาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมให้เกิดตะคริวขึ้น ได้แก่

      1. การขาดเกลือแร่และอิเลคโตรไลด์ (Electrolyte) ซึ่งเป็นจากการสูญเสียทางเหงื่อ ระหว่างการเล่นกีฬา
      2. การเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิร่างกายทันที จากร้อนเป็นเย็น หรือในทางที่กลับกัน
      3. การที่กล้ามเนื้อขาดเลือดหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจเกิดจากการใส่เสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ไม่เหมาะสม เช่น กางเกงกีฬาที่มีขอบขากางเกงรัดมาก ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงขาและเท้าลดลง กล้ามเนื้อขาดออกซิเจน และมีการคั่งของของเสีย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกล้ามเนื้อจึงเกิดตะคริวขึ้น นอกจากนั้นกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานจะล้า (Over fatigue) ก็มีโอกาสเกิดตะคริวได้ง่าย

     การป้องกันตะคริวแบบง่าย ๆ

      – ก่อนออกกำลังกายควรมีการยืดกล้ามเนื้อก่อนทุกครั้ง อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ สังเกตง่าย ๆ คือ ดูสีน้ำปัสสาวะถ้ายังเข้มเหลือง โอกาสที่คุณลงเล่นกีฬาอะไรก็ตามจะเป็นตะคริวมีสูง
      – อย่าใช้อะไรรัดให้แน่นมากไป เช่น ใส่กางเกงขารัดมากไปเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
      – สูดหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

     การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดตะคริว

เมื่อตะคริวเกิดที่ตำแหน่งใดให้ใช้ของเย็นประคบ อย่าใช้ของอุ่นหรือร้อน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบีบเกร็งมากขึ้น ให้ยืดกล้ามเนื้อมัดนั้นออกอย่างช้า ๆ ในทางตรงข้ามกับที่มัดหดตัวเห็นได้ง่าย ๆ เช่น ตะคริวที่น่อง ให้เหยียดขาออก ผู้ช่วยค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อน่องด้วยการค่อย ๆ กระดกเหยียดข้อเท้า (Passive extension)

 


ขอบคุณ :  fascino

PostHeaderIcon สับปะรด ลดความดันได้

 
 

 


ผลไม้อมหวานอมเปรี้ยว มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย หากกินสับปะรดหลังอาหาร เราจะรู้สึกเบาสบายท้องและไม่อึดอัด

เพราะสับปะรดมีความสามารถในการช่วยย่อย โดยเฉพาะในสารอาหารโปรตีน เราจึงเห็นคนส่วนใหญ่ใช้สับปะรดในการหมักเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ให้นุ่มขึ้น

สับปะรดจะอุดมไปด้วยวิตามินซีสูง จึงช่วยเสริมสุขภาพและภูมิต้านทานโรคได้ดีขึ้น กินสับปะรดบ่อย ๆ จะมีห้สุขภาพดี ไม่ค่อยเป็นหวัด

ในสับปะรดยังมีโพแทสเซียมสูงที่ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว และลดความดันได้ นอกจากนี้สับปะรดยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เป็นอย่างดี

ปริมาณที่พอดีและเหมาะสมในการบริโภคก็คือ 100 กรัมต่อวัน ควรกินสับปะรดสด ๆ โดยไม่ผ่านการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน เพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินต่าง ๆ ไป

เห็นประโยชน์ดี ๆ ของสับปะรดแล้ว รีบหามาทานกันด่วนเลยนะคะ

 


ขอบคุณ : สาระดี @ plus.google

PostHeaderIcon สัญญาณบ่งบอกว่าต้องรักษารากฟัน

 


อาการต่างๆ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเราควรไปรักษารากฟันได้แล้ว หรือแบบไหนที่ต้องรักษารากฟัน เพื่อรักษาฟันของเราให้คงอยู่กับเราไปนานๆถ้ากล่าวถึงการรักษารากฟัน แน่นอนว่าโดยปกติทั่วไปแล้ว เราก็คงจะไม่ค่อยนึกถึงกัน และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งนี้จริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย เพียงแต่สาเหตุที่ส่วนใหญ่คิดไปว่าเป็นเรื่องไกลตัว นั่นก็เพราะว่าไม่ทราบว่าจริงๆแล้ว เมื่อมีอาการแบบไหนถึงต้องไปรักษารากฟันได้แล้ว

 อาการปวดฟัน ซึ่งบางคนที่มีอาการปวดฟัน แบบที่ไม่ได้ปวดอะไรมาก นานๆปวดที หรือพอปวดแล้วก็ไปซื้อแผ่นแปะแก้ปวด ตามร้านขายยามาแปะ พอหายปวด แล้วก็อาจจะไม่ได้สนใจ หรือใส่ใจอะไรกับอาการปวดฟัน ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะอาการเหล่านี้อาจจะมาจากสาเหตุที่ว่า รากฟันเริ่มมีปัญหาแล้วก็ได้
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบทันตแพทย์จะดีกว่า หากยังรักษารากฟันได้ ก็ควรรีบรักษา ก่อนที่จะเสียฟันไป…..

ที่มา…จัดฟันทำฟัน.net

 เสียวฟันมากๆ เวลาที่รับประทานของร้อนๆ หรือของเย็น อย่างเช่น ไอศกรีม ก็คือจริงๆแล้วอาการเสียวฟันนั้นเป็นได้กับทุกคน แต่ถ้าเป็นเสียวฟันแบบปกติ ก็คือจะไม่เสียวมาก จะรู้สึกนิดๆ ก็คือไม่เป็นอุปสรรคต่อการทานของร้อนและของเย็น แต่ถ้าหากว่าเราเสียวถึงขั้นที่ว่าเวลาทาน ของร้อนและของเย็นแล้ว รู้สึกว่าทานค่อนข้างลำบาก แน่นอนเลยว่า รากฟันเริ่มไม่แข็งแรงแล้ว

 รู้สึกปวดฟันเวลาที่เคี้ยวอาหารหรือเวลาที่กัดฟัน ทั้งนี้หลายคนอาจจะไม่ได้เอะใจ เพราะคิดว่าเป็นเพียงเฉพาะเวลานั้นเท่านั้น ไม่ได้ปวดเวลาปกติ คงไม่เป็นอะไร