PostHeaderIcon กรมศิลป์ขุดวังหน้าพบกำแพงโบราณอายุ 230 ปี

 
 

 กรมศิลปากร ทำการขุดพระราชวังหน้าครั้งแรกในประวัติศาสตร์ พบแนวกำแพงโบราณ-โบราณวัตถุอายุ150- 230 ปี ต้นรัตนโกสินทร์ เร่งเก็บข้อมูลเปรียบเทียบหลักฐานเดิม

นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้รับบรายงานความคืบหน้าโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล บริเวณพิพิธภถัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ โรงละครหอศิลป์ วังหน้า และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) ให้มีความเหมาะสมกับความสำคัญของการเป็นพระราชวังในอดีต ซึ่งได้มีการรวบรวมและเก็บกู้หลักฐานทางโบราณคดี ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม รวมถึงความเปลี่ยนแปลงในการใช้พื้นที่บริเวณวังหน้า ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันอย่างละเอียดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากพื้นที่วังหน้า คือพระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราช หรือมีชื่อเรียกทางการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง

นายสหวัฒน์กล่าวต่อว่า จากการขุดค้นในระยะที่ 1 พื้นที่ด้านทิศใต้หมู่พระวิมาน ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พบแนวอิฐส่วนฐานรากอาคารก่ออิฐถือปูน อยู่ด้านหน้าพระที่นั่งทิกษิณาภิมุข สันนิษฐานว่าเป็นอาคารยุคแรกๆ ของวังหน้า และพบเป็นแนวกำแพงล้อมพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นท้องพระโรงที่ว่าราชการในสมเด็จพระบวรราชเจ้า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ 3 รวมถึงพบร่องรอบธรณีประตูจากแผ่นหินดาดปูด้านข้าง ที่สำคัญยังพบโบราณวัตถุในดินจำนวนหนึ่งเป็นวัตถุประเภทเศษภาชนะ เครื่องใช้ในครัวเรือนเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม อาวุธปืน และเครื่องประกอบเครื่องแต่งกายทหาร

อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวว่า คาดว่าน่าจะอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1-5 มีอายุตั้งแต่ 150-230 ปี เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเคยเป็นพระราชวังมาก่อน แต่ละสมัยได้มีการรื้อถอนและปรับโครงสร้างของพระราชวังจึงทำให้โบราณวัตถุถูกฝังไว้ในดิน อย่างไรก็ตามการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งแรก เพราะที่ผ่านมามีการขุดพบเฉพาะพื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนามหลวงเท่านั้น

www.teenee.com/

Leave a Reply