PostHeaderIcon ชม”บลูมูน”ครั้งสุดท้าย 31 ส.ค.นี้ พลาดแล้วต้องรออีกเกือบ 3 ปี

 
 

 
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์สีน้ำเงิน หรือบลู มูน หรือดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (31 ส.ค.) เป็นวันเดียวกับวันประกอบพิธีศพของนีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบดวงจันทร์ ซึ่งเสียชีวิตด้วยวัย 82 ปี เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์บลูมูน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดพระจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งเดือนปฏิทิน โดยหากพลาดการชมในวันพรุ่งนี้ จะต้องรอถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ปี 2015 หรืออีกเกือบ 3 ปีข้างหน้า ขณะที่รอบของดวงจันทร์เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 29.53059 วันต่อเดือน และเกิดขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2.72 ปีต่อครั้ง

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้ มักไม่มีความสำคัญทางวิทยาศาสตร์มากนัก เนื่องจากเป็นเรื่องปกติ ขณะที่จะมีความสำคัญมากกว่ากับคู่รัก นักเขียน และบทเพลงมากกว่า

ปรากฏการณ์บลูมูน เป็นที่รู้จักกันจากสำนวนในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Once in a blue moon” ที่หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นนานๆครั้ง โดยปรากฏการณ์บลูมูนครั้งล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2009 หรือที่เรียกกันว่า″วันส่งท้ายปีเก่าบลูมูน” ซึ่งประจวบเหมาะกับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ที่เห็นได้ในยูโรป เอเชีย แอฟริกา และบางส่วนของรัฐอลาสก้า

นอกจากนั้น ยังมีปรากฏการณ์ที่เกิดบลูมูนปีละ 2 ครั้ง โดยปีล่าสุดที่เกิดบลูมูน 2 ครั้งซ้อนในหนึ่งปี ก็คือปี 1999 และครั้งต่อไปในปี 2018

ด้านครอบครัวของอาร์มสตรองแนะนำว่า หากต้องการแสดงการไว้อาลัยแก่เขาเป็นครั้งสุดท้าย ให้มองที่ดวงจันทร์ในคืนพรุ่งนี้ และกระพริบตาให้หนึ่งครั้ง

โดยพระจันทร์จะอยู่ในสภาพกลมโตอย่างเต็มที่ในเวลา 13.58 น. ตามเวลามาตรฐานสากล หรือเวลา 20.58 น. ตามเวลาในไทย ของวันที่ 31 ส.ค.นี้ โดยดวงจันทร์จะมีสีสว่างกว่าเดิม อย่างไรก็ดี ดวงจันทร์ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินแต่อย่างใด

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน

Leave a Reply