PostHeaderIcon ข้อเท็จจริงเรื่องฝากระป๋องกับขาเทียม

คำชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องหูกระป๋อง

  ฝากระป๋องกับขาเทียม ข้อเท็จจริงจากชมรมนักพัฒนาอุตสาหากรรมไทย รูปที่ 1 ฝากระป๋องกับขาเทียม ข้อเท็จจริงจากชมรมนักพัฒนาอุตสาหากรรมไทย รูปที่ 2

 “จากการที่มีผู้สอบถามและนำหูกระป๋องและฝาเครื่องดื่มบำรุงร่างกายมามอบให้แก่ชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรรมไทย เพื่อทำชิ้นส่วนของขาเทียมจำนวนมาก ทางชมรมฯ ขอขอบคุณและชื่นชมในความเอื้ออาทรของทุกท่านเป็นอย่างยิ่งและใคร่ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตขาเทียมให้ทุกท่านได้ทราบดังต่อไปนี้”

 ข้อเท็จจริงเรื่องฝากระป๋องกับขาเทียม รูปที่ 3

ข้อเท็จจริงเรื่องฝากระป๋องกับขาเทียม รูปที่ 4

1. หูกระป๋องหรือฝาเครื่องดื่มเป็นโลหะประเภทอลูมิเนียม ดังนั้นอลูมิเนียมทุกชนิด เช่น กระทะ ขัน กะละมัง ที่เป็นอลูมิเนียมสามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด

2. การรณรงค์นำของเหลือใช้มาทำประโยชน์เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรบริโภคเพื่อหวังจะนำหูกระป๋องมาเพื่อทำขาเทียมช่วยเหลือผู้พิการ เพราะหูกระป๋อง 4,200 อัน มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีมูลค่าเป็นเศษอลูมิเนียมเพียง 50 บาท จะหลอมได้ชิ้นส่วนเพียง 5 ชิ้น ในขณะที่เราต้องเสียเงินซื้อเครื่องดื่มอย่างน้อยถึง 42,000 บาท

3. เหตุใดถึงเลือกเฉพาะหูกระป๋องหรือหูเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ถ้าต้องการอลูมิเนียมเพื่อทำขาเทียมจริง ๆ ก็ควรจะรับบริจาค หม้อ ขัน กระทะ เครื่องต่าง ๆ ที่มีส่วนของอลูมิเนียม จะได้ประมาณมากมาย (ถ้าท่านมีศรัทธาอยากจะช่วยเหลือผู้พิการส่งเงินบริจาคไปยังที่อยู่ของหน่วยงานที่ขอบริจาคจะดีกว่าที่จะรวบรวมหูกระป๋อง เพราะนอกจากไม่คุ้มค่าแล้วยังเสียความรู้สึกที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือให้แก่นักฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ให้แก่ตน)

4. เศษอลูมิเนียมทุกชนิดต้องนำมาหลอมที่อุณหภูมิ 800 C เพื่อจะแปรรูปเป็นอลูมิเนียมแท่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหลอมอลูมิเนียมแท่งและค่าจัดส่งมากกว่าค่าวัตถุดิบ ถ้าหน่วยงานใดที่ต้องการชิ้นส่วนขาเทียม ทางชมรมฯ ยินดีจะผลิตให้พอกับความต้องการและไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

5. ความสามารถในการประกอบขาเทียมจากเศษอลูมิเนียม 100 กิโลกรัม เมื่อนำมาทำชิ้นส่วนของขาเทียมจะได้ชิ้นส่วนถึง 500 อัน ผู้ประกอบขาเทียมต้องใช้เวลาประกอบหลายปี ดังนั้นการรณรงค์เพื่อเก็บหูกระป๋องกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศจึงเป็นเรื่องการสร้างภาพของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และควรจะให้ประชาชนได้รู้ความจริง

6. การดื่มน้ำกระป๋อง เป็นการสิ้นเปลือง เพราะแผ่นโลหะที่นำมาทำกระป๋องต้องนำเข้า และต้องจ่ายค่ากระป๋องเพิ่มจากน้ำขวดปรกติถึง 3 บาท

7. การสร้างศรัทธาและจิตสำนึกเพื่อช่วยเหลือคนพิการเป็นสิ่งที่ดี แต่การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายและนำสถาบันเบื้องสูงมาอ้างเช่นนี้ทำให้ผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้าใจผิดเป็นจำนวนมาก เรื่องอย่างนี้…ผู้คุ้มครองผู้บริโภคน่าจะดูแลให้ทั่วถึง

 ที่มา : ชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

PostHeaderIcon การปิดทองฝังลูกนิมิตร

ความรัก สุขภาพ » ไลฟ์สไตล์ » การปิดทองฝังลูกนิมิตร

ธรรมเนียมแห่งการกำหนดเขตพัทธสีมาอุโบสถจะต้องหมายเขตด้วยวัตถุบางอย่าง   เรียกว่านิมิตๆ  แปลว่าเครื่องหมาย   วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตนั้น   ระบุไว้ในบาลี ๘ ชนิด ภูเขา ๑ ศิลา ๑ ป่าไม้ ๑ต้นไม้ ๑ จอมปลวก ๑ หนทาง ๑ แม่น้ำ ๑ น้ำ ๑ ส่วนมากคณาจารย์ใช้ศิลาเป็นลูกนิมิต การปิดทอง
ลูกนิมิตด้วยจิตใจศรัทธาปสาทเลื่อมใส    ย่อมบังเกิดอานิสงส์มาก    เพราะลูกนิมิตเป็นสัญญา
ลักษณ์แทนองค์พระบรมศาสดากับพุทธสาวก ถึงแม้พระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว แต่รอย
พิมพ์พระคุณทั้งหลายของพระองค์ยังคงดำรงสถิตย์เสถียรปกป้องอวยสันติสุขแก่ผู้ที่ประพฤติ
ปฎิบัติตามพุทธศาสนิกมานมัสการปิดทองลูกนิมิตก็เสมือนปิดทองพระพุทธรูป ย่อมสำแดงออก
ซึ่งความนอบน้อมเคารพอย่างสูงยิ่ง ในพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกนิมิต ๙ ลูก เป็นเครื่อง
หมายกำหนดเขตที่จะสร้างพระอุโบสถ อันเป็นธงชัยแห่งพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
อำนวยให้สังฆกรรมอุโบสถกรรมปวารณาสำเร็จได้ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ    สืบอายุพระบวร
ศาสนาให้ดำรงยั่งยืนตลอดกาล อนุชนรุ่นหลังได้ตีความ
www.mthai.com

PostHeaderIcon พบสิ่งมีชีวิต 46 สปีชีส์ ในประเทศซูรินาเม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มอนุรักษ์สากล (Conservation International) ได้ทำการสำรวจป่าเขตร้อน ในประเทศซูรินาเม (Suriname) ประเทศเล็กๆ ของอเมริกาใต้ และได้บันทึกข้อมูลสิ่งมีชีวิตกว่า 1,300 ชนิด ทั้ง ปลา, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, นก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และแมลงต่างๆ

ทั้งนี้ทางทีมสำรวจคาดว่า จากสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่พบน่าจะมีสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่กว่า 46 สปีชีส์ ซึ่งทีมสำรวจกำลังทำงานเพื่อยืนยันสิ่งมีชีวิตแปลกๆ เหล่านี้ ว่าเป็นชนิดใหม่หรือไม่ เช่น


กบคาวบอย (cowboy frog) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก มีแถบขาวตลอดแนวยาวของขา และมีลักษณะเดือยตรงข้อต่อขา ค้นพบขณะสำรวจพื้นที่ชื้นแฉะในแม่น้ำ Kutari


ปลาดุกหุ้มเกราะ (Armored Catfish) ปลาดุกที่มีหน้าตาประหลาด มีหนามทั่วตัวคล้ายชุดเกราะ เพื่อป้องกันตัวเองจากปลาปิรันย่ายักษ์ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเดียวกัน


ตั๊กแตน เครโยลา (crayola katydid) เป็นตั๊กแตนที่มีสีสันสดใส


หนอนผีเสื้อกลาง


ด้วงมีเขา (Coprophanaeus lancifer)
เป็นด้วงขนาดใหญ่ มีขนาดตัวเท่าผลส้มเขียวหวาน หนักกว่า 6 กรัม ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขาใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้


กบแพ็คแมน (Pac-Man)
หากไม่สังเกตุดีๆอาจมองไม่เห็น โดยเจ้ากบแพ็คแมน เป็นกบนักล่าที่มีการพรางตัวรอให้เหยื่อผ่านมา ก่อนเขมือบเป็นอาหาร ซึ่งปากที่กว้างนี้ทำให้มันสามารถกินเหยื่อขนาดใหญ่ได้ ไม่ว่าจะเป็น นก หนู หรือแม้แต่กบด้วยกันเอง

Mthai News

PostHeaderIcon ‘Hiriko Citycar’ รถยนต์พับได้จากสเปน

 
 

 

บริษัทสัญชาติสเปน เตรียมเปิดตัวยนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่สามารถพับได้ เพื่อสร้างความสะดวกแก่การเข้าจอด พร้อมผลิตออกจำหน่ายจริงในยุโรปปีหน้า

           ‘Hiriko’ ยานยนต์จากแคว้นบาสก์ในประเทศสเปน ปฏิวัติโลกยนตรกรรมด้วยรูปทรง 2 ที่นั่ง พร้อมขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ในล้อทั้ง 4 ล้อที่สามารถแล่นได้ระยะทาง 120 กม.ในการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว พร้อมฟีเจอร์พับหดได้ เพื่อการเข้าจอดที่ง่ายขึ้น

        รถยนต์นวัตกรรมใหม่นี้ เป็นผลงานจากแนวคิดของกลุ่ม MIT-Media lab และถูกพัฒนาต่อโดยบริษัทขนาดเล็กในแคว้นบาสก์ ประเทศสเปน ภายใต้ชื่อ ‘Hiriko Driving Mobility’ ซึ่งคำว่า ‘Hiriko’ มาจากคำศัพท์ในภาษาบาสก์ อันแปลว่า ‘Urban’ หรือ ชุมชนในเมือง ซึ่งรถยนต์โปรโตไทป์ Hiriko จะพร้อมเปิดตัวสู่สายตาสาธารณชนในวันที่ 24 มกราคมนี้ ณ งาน European Commission president Hose Manuel Barroso

สำหรับการผลิตเพื่อป้อนสู่การทำตลาดจริง จะมีขึ้นในปีหน้า โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจากับบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ในหลายเมืองของยุโรป เพื่อประกอบรถยนต์คันจิ๋วแหวกแนวคิดคันนี้ออกมา ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่ Hiriko จะเป็นยานพาหนะที่ปล่อยให้เช่าในเมือง คล้ายจักรยานให้เช่าในหลายเมืองใหญ่ของยุโรป

ในขณะที่การขายขาดก็ยังคงมีเช่นกัน ในราคาประมาณ 12,500 ยูโร หรือประมาณ 511,000 บาท

 

ที่มา life.voicetv

 

 

PostHeaderIcon พบกับเกร็ดความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่นี่

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บ เกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์ ท่านจะได้รับรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประจำวัน ที่นี่